เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและอธิบายได้ว่าลวดลายที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของกลุ่มคนเดียวกันจากอดีตถึงปัจจุบันได้สามารถนำความรู้ที่ได้
มาประยุกต์ทำชิ้นงาน ได้อย่างสร้างสรรค์
อีกทั้งแก้ปัญหาจากการสร้างชิ้นงานได้อย่างหลากหลาย
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
9
11
- 15
ก.ค.
59
|
โจทย์ : ความสัมพันธ์กับวิถีชีวิต
Key Questions :
- นักเรียนจะออกแบบลวดลายที่แสดงความเป็นวัฒนธรรมหรือกลุ่มคนเดียวกันได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
Brainstorms : ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องมือ/อุปกรณ์งานจักสาน
Round Rubin : แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับงานจักสานที่ได้ค้นหามา
Show and Share :นำเสนอผลงานการจักสาน
Chart and Chart : สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อ/อุปกรณ์ :
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- อินเทอร์เน็ต
-
คลิปวีดีโอและภาพตัวอย่างการสร้างลาย
|
วันจันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
ครูทบทวนกิจกรรมจากการทำชิ้นงานของนักเรียน
เปิดคลิปวีดีโอและภาพการสร้างลวดลายในแบบต่างๆ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะออกแบบลวดลายที่แสดงความเป็นวัฒนธรรมหรือกลุ่มคนเดียวกันได้อย่างไร?”
เชื่อม:
- ครูให้นักเรียนออกแบบสร้างลวดลายเป็นชิ้นงานของห้องเรียนที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นอัตลักษณ์ของคนในชั้นเรียน
- นักเรียนเลือกวิธีในการสร้างลายที่ชอบโดยผ่านเครื่องมือคิด
Chart and Chart
นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับลวดลายในกลุ่มของตน
พร้อมวางแผนและออกแบบการเรียนรู้
วันอังคาร ( 2 ชั่วโมง )
ใช้:
นักเรียนสรรสร้างชิ้นงานของห้องเรียนตามที่ได้ออกแบบไว้
วันพุธ ( 2 ชั่วโมง )
เชื่อม :
นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันในวันนี้ โดยครูได้ใช้คำถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?”
ใช้ :
นักเรียนนำเสนอความคืบหน้าและทำชิ้นงานต่อจากวันอังคาร
วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ใช้ :
นักเรียนทำชิ้นงานต่อจากจนสำเร็จและนำเสนอความผลงานของห้องเรียน
วันศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
- “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
- “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?”
- “นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
- “นักเรียนอยากเรียนรู้เพิ่มเติมในประเด็นใดบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์นี้
|
ภาระงาน
- วางแผนและออกแบบการทำงาน
- ร่วมกันแสดงความคิดเห็น
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน
- ชิ้นงานของห้องเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
เข้าใจและอธิบายได้ว่าลวดลายที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของกลุ่มคนเดียวกันจากอดีตถึงปัจจุบันได้สามารถนำความรู้ที่ได้
มาประยุกต์ทำชิ้นงาน ได้อย่างสร้างสรรค์
อีกทั้งแก้ปัญหาจากการสร้างชิ้นงานได้อย่างหลากหลาย
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน
- สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
- เก็บกวาด อุปกรณ์
ทุกครั้งหลังทำงานเสร็จ
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
-
คิดสร้างสรรค์หัวข้อหน่วยที่อยากเรียนรู้
-
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
ข้อมูลสิ่งที่อยากเรียนรู้เพื่อออกแบบกิจกรรม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
นักเรียนแต่ละคน
ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและรับฟังทัศนะคติของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล
ทักษะการสื่อสาร
-
มีความถูกต้องชัดเจนในการสื่อความหมายทั้งการพูด การเขียน และการแสดงออก
- เข้าใจและสามารถสรุปความรู้
คุณค่า ทัศนคติ จากสิ่งที่ได้ทำสิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ได้
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นหาข้อมูลที่ตนเองสนใจอยากเรียนรู้จากแหล่งต่างๆเช่น Internet ผู้รู้หรือ ห้องสมุดได้
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ- เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย-สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
-
รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
|
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบสัปดาห์นี้ครูได้ทบทวนทุกกิจกรรมที่ได้เรียนมา นักเรียนมีความสนใจหรือชอบกิจกรรมใดมากที่สุด ทบทวนการออกแบบและทำชิ้นงานของตนเองว่ามีปัญหาและมีวิธีการแก้ปัญหานั้นอย่างไร นักเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จากนั้นครูให้นักเรียนดูภาพชิ้นงานที่เกิดจากการออกแบบลวดลายในรูปแบบต่างๆแล้วให้นักเรียนช่วยกันคิดและออกแบบชิ้นงานที่แสดงถึงความเป็นตัวตนของชั้นเรียน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เป็นชิ้นงานที่ทุกคนได้ช่วยกันทำ ช่วยกันออกแบบ ในตอนแรกนักเรียนตกลงกันไม่ได้เพราะแต่ละคนชอบไม่เหมือนกัน บางคนจะทำลายปั้น บางคนอยากเพนท์ บางคนอยากวาดลายเส้น ฯลฯ และแล้วทุกคนจึงมีความเห็นว่าจะวากลายเส้นใส่กรอบรูป แต่ระยะเวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์ อาจจะไม่เพียงพอ จึงได้ช่วยกันคิดใหม่ เห็นความร่วมมือช่วยกันแสดงความคิดเห็น ให้เหตุผลต่อสิ่งที่จะทำ สิ่งที่เพื่อนเลือกเพื่อนบางคนอาจไม่ชอบ เพื่อนก็อธิบายเหตุผลจนสุดท้ายทุกคนต่างลงความเห็นกันว่าจะทำกระเป๋าจากผ้ามัดย้อม ครูมีผ้ามาให้นักเรียน 5 เมตร และสีย้อมผ้าอีกหลากสี ให้นักเรียนช่วยกันออกแบบว่าจะใช้วิธีการมัดย้อมอย่างไร นักเรียนลงความเห็นว่าให้ตัดผ้าสำหรับเพื่อนทุกคนไได้ออกแบบลวดลายของตนเอง จากนั้นนำผ้าทั้งหมดมาเย็บรวมกันแล้วค่อยตัดไปเย็บกระเป๋า ให้กระเป๋าใบนั้นเกิดจากความคิดของแต่ละคน ลวดลายของทุกคนจะมารวมเป็นผืนผ้าเดียวกัน หลังจากที่ตัดผ้าให้ทุกคนเรียบร้อยแล้วแต่ละคนก็จะออกแบบแตกต่างกันไปมีทั้งการมัด การพับ การใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ไม้ เชือกฟาง ยาง เมื่อมัดลายหรือพับผ้าเสร็จแล้ว ทุกคนลงความเห็นกันว่าจะใช้วิธีการย้อมเย็นเช่นเคย เพราะสะดวกและได้ลวดลายที่สวยมีสีสดเพิ่มเติมโดยการวาดหรือระบายสีให้เกิดลวดลายที่ละเอียดขึ้น แต่ละคนจึงได้ลวดลายที่ต่างกัน นักเรียนตื่นเต้นกับลายของตนเองมาก บางคนใส่สียังไม่เข้มพอก็อยากแกะผ้าแล้วเพราะอยากเห็นลายของตนเองว่าจะเป็นอย่างไร กิจกรรมนี้ทำให้นักเรียนมีความจดจ่อกับสิ่งที่ทำ มีสมาธิ คิดสร้างสรรค์ จินตนาการ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อนที่ทำเสร็จก่อนก็จะช่วยเพื่อนที่เหลือ ที่สำคัญนักเรียนได้ยอมรับการแสดงความคิดเห็นซึ่งกันและกัน แรกๆที่ยังตกลงกันไม่ได้ แต่เมื่อคุยกันเริ่มมีเหตุผลประกอบแต่ละคนก็เริ่มรับฟังกันช่วยเหลือกันจนทำชิ้นงานสำเร็จ สัปดาห์นี้นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งแบบบรรยายและ Flow Chart ในวันศุกร์มีกิจกรรมผู้ปกครองอาสามาสร้างการเรียนรู้ให้นักเรียนเกี่ยวการสร้างสถานการณ์จำลองเมื่อนักเรียนตกอยู่ในสถานการฉุกเฉิน นักเรียนจะมีวิธีการแก้ปัญหาและช่วยเหลือตัวเองได้อย่างไร ซึ่งมีอยู่ 2 เหตุการณ์คือ กรณีที่นักเรียนติดอยู่ในรถและหลงทาง นักเรียนตื่นเต้นกับกิจกรรมที่ผู้ปกครองพาทำ เมื่อตกอยู่ในสถานการณนั้นจริงๆ ผู้ปกครองใช้คำถามกระตุ้นคิดว่านักเรียนมีความรู้สึกอย่างไร มีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร ผู้ปกครองและนักเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
ตอบลบ