เป้าหมาย (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

Week6

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายลักษณะของลวดลายแกะสลักในแบบต่างๆที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของคนแต่ละท้องถิ่น ทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์เป็นชิ้นงานที่สรรค์สร้างได้                  

Week
Input
Process  
Output
Outcome
6
20 - 24
มิ.ย.
59




โจทย์ : ลวดลายแกะสลัก
Key Questions :
ลวดลายงานแกะสลักมีความสำคัญและเกี่ยวข้องอย่างไรกับวิถีชีวิตของคนแต่ละท้องถิ่นอย่างไร?

เครื่องมือคิด :
Brainstorms : ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการนำเสนอเป็นเรื่องราวของลวดลายแต่ละท้องถิ่น
 Round Rubin : แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับงานลายแกะสลักค้นหามา
Show and Share : นำเสนอผลงานกที่ตนเองออกแบบ
Web :สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
ครู
นักเรียน

สื่อ/อุปกรณ์:
บรรยากาศภายในห้องเรียน
- สื่อจริง
รูปภาพ
- สีน้ำ พู่กัน
- ดินเหนียว
- ไฟแช็ค
- คลิปวีดีโอ
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง : 
ครูให้นักเรียนดูรูปภาพลายแกะสลักแบบต่างๆ ทั้งลายนูนสูง ลายนูนต่ำ ลายกระเบื้อง ลายไม้ ลายหิน ฯลฯ
เชื่อม:
ครูให้นักเรียนออกแบบและแกะสลักลวดลายจากดินเหนียว
ใช้:
นักเรียนออกแบบและแกะสลักลวดลายจากดินเหนียว

วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
เชื่อม :
- ครูพานักเรียนเผาเครื่องปั้นที่ทำไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
- ครูให้นักเรียนดูคลิปการแกะสลักลวดลายต่างๆ

วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง : 
ครูให้นักเรียนดูภาพลวดลายเครื่องปั้นดินเผาในสมัยต่างๆ ใช้คำถามกระตุ้นความคิด “ในแต่ละยุคสมัยหรือแต่ละพื้นถิ่นมีลวดลายที่แตกต่างกันอย่างไร?”
เชื่อม:
- นักเรียนร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
- ครูให้นักเรียนออกแบบลวดลายเครื่องปั้นของตนเอง โดยต้องสื่อความหมายและบอกถึงที่มาของลวดลายนั้นๆได้
ใช้:
นักเรียนออกแบบลายเครื่องปั้นของตนเองลงในสมุด

วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ใช้:
นักเรียนสร้างลวดลายบนเครื่องปั้นจากที่ตนเองออกแบบไว้ โดยใช้สีน้ำ

วันศุกร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด 
    - “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
    - “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?” 
   - “นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์



ภาระงาน
-  การออกแบบและสร้างลวดลายแกะสลักและลายเครื่องปั้น
- การเผาเครื่องปั้นดินเผา
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ชิ้นงาน
การแกะสลักดินเหนียว
- สร้างลายบนเครื่องปั้นของตนเอง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายลักษณะของลวดลายแกะสลักในแบบต่างๆที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของคนแต่ละท้องถิ่น ทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์เป็นชิ้นงานที่สรรค์สร้างได้                  
ทักษะ
ทักษะชีวิต
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน
สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
- เก็บกวาด อุปกรณ์ ทุกครั้งหลังทำงานเสร็จ
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดสร้างสรรค์หัวข้อหน่วยที่อยากเรียนรู้
-  สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
ข้อมูลสิ่งที่อยากเรียนรู้เพื่อออกแบบกิจกรรม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
นักเรียนแต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและรับฟังทัศนะคติของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล
ทักษะการสื่อสาร
- มีความถูกต้องชัดเจนในการสื่อความหมายทั้งการพูด การเขียน และการแสดงออก
เข้าใจและสามารถสรุปความรู้ คุณค่า ทัศนคติ จากสิ่งที่ได้ทำสิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ได้
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นหาข้อมูลที่ตนเองสนใจอยากเรียนรู้จากแหล่งต่างๆเช่น Internet ผู้รู้หรือ ห้องสมุดได้

คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติเชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย-สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ



ภาพกิจกรรม












ชิ้นงาน


 







1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้นักเรียนได้แกะสลักลวดลายจากดินเหนียวซึ่งเป็นวัสดุที่หาง่ายและมีความคงทนและนักเรียนเองก็มีพื้นฐานการปั้นจากสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้การทำกิจกรรมในสัปดาห์นี้เป็นไปตามขั้นตอนเพราะก่อนที่จะออกแบบลวดลายได้นั้น นักเรียนต้องนวดดินให้เป็นเนื้อเดียวกันให้ดินมีความนุ่มพอเหมาะกับการปั้นขึ้นรูป เพราะถ้านวดไม่ดีก็จะทำให้ดินแตกเช่นที่ผ่านมา การนวดก็ใช้เวลาที่แตกต่างกันแล้วแต่น้ำหนักมือหรือแรงนวดของแต่ละคน เมื่อนวดได้สักพักก็จะมีคำถามว่าของหนูนวดพอหรือยัง? ปั้นได้หรือยัง? ทุกคนต่างจดจ่ออยู่ที่ชิ้นงานของตนเอง เพราะครูมีเพียงดินเหนียวให้แค่คนละก้อนเล็กๆ เท่านั้น เมื่อนักเรียนนวดจนเข้ากันแล้วก็ลงมือปั้นเป็นแบบต่างๆ ตามความสนใจ เป็นรูปดาว หัวใจ วงกลม สี่เหลี่ยม หยดน้ำ ใบไม้ ดอกไม้ ฯลฯ เมื่อได้รูปทรงที่ต้องการแล้วเริ่มแกะสลักลวดลายตามจินตนาการของตนเอง ลวกลายที่ออกมาจึงมีลักษณะที่แตกต่างกันไป การแกะสลักลายครั้งนี้ต้องจดจ่อกว่าทุกครั้งเพราะถ้าไม่มีสติหรือไม่นิ่งก็จะทำให้ลายเสียและต้องลบลายและเริ่มทำใหม่ หลายคนออกแบบครั้งเดียวก็สำเร็จเลย แต่บางคนก็ต้องลบหลายๆครั้งเพราะลวดลายที่ออกมาไม่ได้เป็นไปตามความตั้งใจ แต่สุดท้ายแล้วทุกคนก็ได้ชิ้นงานเป็นของตนเอง จากนั้นนำชิ้นงานที่ได้ไปตากแดดจนแห้ง และในสัปดาห์นี้ยังมีกิจกรรมต่อเนื่องมาจากสัปดาห์ที่แล้ว คือการเผาเรื่องปั้นที่ได้ปั้นไว้เพราะดินที่ตากไว้พึ่งแห้งและสภาพอากาศก็เหมาะสมสำหรับการเผา นักเรียนช่วยกันขุดดินจนเป็นหลุมแล้วนำเครื่องปั้นของตนเองไปวางเรียงกันในหลุม จากนั้นช่วยหันหาฟืนมาวางด้านบนจุดไฟเผาและรอเวลาที่ดินสุก เมื่อเผาเสร็จแล้วจะเห็นว่าชิ้นงานบางชิ้นนั้นแตก บางชิ้นก็คงรูปเหมือนเดิม นักเรียนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆที่ส่งผลให้ดินแตก ได้แก่ เกิดจากขั้นตอนในการปั้น คุณภาพของดิน การตากแดดที่ยังไม่แห้งสนิท ครูได้ให้นักเรียนดูคลิปเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำเครื่องปั้นดินเผาในแบบต่างๆ นักเรียนมีความเข้าใจครูได้ให้นักเรียนดูรูปภาพลวดลายเรื่องปั้นของแต่ละภูมิภาค และลวดลายเครื่องปั้นในยุคสมัยต่างๆ ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นถึงที่มา ลักษณะของลวดลายต่างๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับธรรมชาติ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสมัยนั้นๆ นักเรียนสามารถเชื่อมโยงและวิเคราะห์ลวดลายที่เห็นว่าน่าจะมาจากสิ่งไดและเข้าใจถึงความสัมพันธ์กับธรรมชาติ สามารถออกแบบลวดลายของตนเองเพื่อนำไปสร้างลายในชิ้นงานเครื่องปั้นได้ นักเรียนค่อยๆ บรรจงวาดและลงสิในเครื่องปั้นของตนเองตามที่ออกแบบไว้ พร้อมทั้งสามารถอธิบายได้ถึงที่มาของลวดลายที่ตนเองได้เป็นอย่างดี

    ตอบลบ