เป้าหมาย (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

Week4

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายความเป็นมาของลวดลายจักสานว่ามีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคนในแต่ละพื้นถิ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้

Week
Input
Process  
Output
Outcome
4
6-10
มิ.
59




โจทย์ : ลวดลายจักสาน
Key Question : 
ลวดลายจักสานมีความสำคัญและเกี่ยวข้องอย่างไรกับวิถีชีวิตของคนในแต่ละท้องถิ่น?

เครื่องมือคิด :
 Brainstorms : ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับจักสานในแต่ละภูมิภาค
 Round Rubin : แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับจักสานที่ได้ค้นหามา
Jigsaw : ค้นหาจักสานที่สำคัญในแต่ละภูมิภาค
Show and Share : นำเสนอลายจักสานแต่ละภูมิภาค
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู
นักเรียน
ผู้ปกครอง
สื่อ/อุปกรณ์ :
บรรยากาศภายในห้องเรียน
สื่อจริง(เครื่องจักสานแบบต่างๆ)
ใบมะพร้าว ใบตาล
วันจันทร์( 2 ชั่วโมง )
ชง : 
ครูให้นักเรียนสังเกตสื่อจริงเกี่ยวกับเครื่องจักสานแบบต่างๆ ที่ครูเตรียมมา พร้อมใช้คำถามกระตุ้นความคิด
- “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?
- “นักเรียนคิดว่าสิ่งที่เห็นทำมาจากอะไร มีวิธีการอย่างไรในการสร้างสิ่งนี้?
- “นักเรียนรู้จักลายสานอะไรบ้าง นักเรียนเจอลายสานที่ไหน
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันตอบคำถามสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็น
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 2 คน ให้ศึกษาเครื่องจักสาน 1 ชิ้น คาดเดาถึงวิธีการทำ วัสดุที่นำมาทำ ที่มา และการนำไปใช้ประโยชน์
- นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันวิเคราะห์เครื่องจักสานที่กลุ่มตนเองได้รับ
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับลายจักสานต่างๆ

วันอังคาร( 2 ชั่วโมง )
ชง:
ครูเตรียมกล่องนมและกรรไกรมาให้ และใช้คำถามกระตุ้นความคิด นักเรียนสามารถนำกล่องนมไปสานเป็นอะไรได้บ้างและใช้ประโยชน์ได้อย่างไร?”
เชื่อม:
นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม
ใช้ : 
นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็น 5 กลุ่ม ร่วมกันออกแบบและสานกล่องนม

วันพุธ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในวันอังคารที่ผ่านมาเกี่ยวกับการสานกล่องนม ว่าเจอปัญหาอะไรและมีวิธีหรือร่วมกันแก้ปัญหานั้นอย่างไรครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด นักเรียนคิดว่าการจักสานสามารถนำวัสดุอะไรมาทำได้บ้าง และทำเป็นอะไรได้บ้าง?
เชื่อม : 
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวัสดุที่นำมาจักสาน และสิ่งของจากการจักสาน
ครูในนักเรียนเตรียมวัสดุที่สามารถนำมาสานได้ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นของตน เช่น กก  ใบมะพร้าว ใบตาล

วันพฤหัสบดี( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูนำตัวอย่างการสานของเล่นจากวัสดุมาให้นักเรียนดู และใช้คำถามกระตุ้นความคิด
    - “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?
    - “สิ่งที่นักเรียนเห็นทำมาจากสิ่งใด และเหมือนอะไร?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
ใช้ : 
ครูให้นักเรียนออกแบบลายสานตามความสนใจของตนเอง โดยสานลวดลายต่างๆ จากใบลานและใบมะพร้าวที่นักเรียนเตรียมมา

วันศุกร์( 2 ชั่วโมง )
ชง : 
ครูทบทวนกิจกรรมที่เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์
ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด ลวดลายจกสานมีความสำพันธ์กับวิถีชีวิตของคนแต่ละท้องถิ่นอย่างไร?”
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับลายสาน หรือ อุปกรณ์ของแต่ละภูมิภาคเชื่อมโยงสู่ภูมิปัญญา และสังคมนั้นๆ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิดกระตุ้นความคิด
    - “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?
    - “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?
    - “นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิติประจำวันได้อย่างไร?
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามความสนใจของตนเอง
ภาระงาน
แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามร่วมกัน
- วิเคราะห์ที่มาของเครื่องจกสานแบบต่างๆ
- ออกนักเรียนสรรค์สร้างชิ้นงานโดยการสานจากวัสดุต่างๆ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ชิ้นงาน
- ศึกษาวิเคราะห์เครื่องจักสานแบบต่างๆ (กลุ่ม)
- การสานกล่องนม
- การสานใบลานและใบมะพร้าว
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายความเป็นมาของลวดลายจักสานว่ามีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคนในแต่ละพื้นถิ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้
    
ทักษะ
ทักษะชีวิต
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน
สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
- เก็บกวาด อุปกรณ์ ทุกครั้งหลังทำงานเสร็จ
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดสร้างสรรค์หัวข้อหน่วยที่อยากเรียนรู้
-  สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
ข้อมูลสิ่งที่อยากเรียนรู้เพื่อออกแบบกิจกรรม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
นักเรียนแต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและรับฟังทัศนะคติของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล
ทักษะการสื่อสาร
- มีความถูกต้องชัดเจนในการสื่อความหมายทั้งการพูด การเขียน และการแสดงออก
เข้าใจและสามารถสรุปความรู้ คุณค่า ทัศนคติ จากสิ่งที่ได้ทำสิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ได้
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นหาข้อมูลที่ตนเองสนใจอยากเรียนรู้จากแหล่งต่างๆเช่น Internet ผู้รู้หรือ ห้องสมุดได้

คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติเชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย-สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ


ภาพกิจกรรม 










 









ชิ้นงาน








1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้เรียนเรื่องของการจักสานครูให้นักเรียนสังเกตสื่อจริงเกี่ยวกับเครื่องจักสานแบบต่างๆ ที่ครูเตรียมมา พร้อมใช้คำถามกระตุ้นความคิด
    นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง ทำมาจากอะไร มีวิธีการอย่างไร เจอลายสานแบบนี้ได้ที่ไหน นักเรียนร่วมกันตอบคำถามสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็น
    จากนั้นครูแบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 2 คน ให้ศึกษาเครื่องจักสาน 1 ชิ้นที่แตกต่างกันออกไป นักเรียนคาดเดาถึงวิธีการทำ วัสดุที่นำมาทำ ที่มาของวัสดุเหล่านั้น และการนำไปใช้ประโยชน์ นักเรียนช่วยกันแสดงความคิดเห็นในกลุ่มย่อยแล้วนำมาแลกเปลี่ยนในกลุ่มใหญ่ วันต่อมาครูเตรียมกล่องนมและกรรไกรมาให้นักเรียนแบ่งกลุ่มและร่วมกันออกแบบและสานกล่องนมให้เป็นชิ้นงานที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมเกี่ยวกับการสานกล่องนม ว่าเจอปัญหาอะไรและมีวิธีหรือร่วมกันแก้ปัญหานั้นอย่างไรซึ่งบางกลุ่มก็ทำจนชิ้นงานสำเร็จบางกลุ่มก็ไม่สำเร็จ เห็นถึงความพยายามที่จะสานกล่องนมให้เป็นรูปร่าง เห็นการถกเถียงและการแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งความสำเร็จอาจไม่ต้องเทียบกับชิ้นงานที่ได้ แต่ให้มองถึงกระบวนการระหว่างการทำงาน การร่วมมือกันช่วยเหลือกัน นั่นคือความสำเร็จแล้ว จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวัสดุที่นำมาจักสานว่านอกจากกล่องนมแล้ว ในท้องถิ่นของนักเรียนมีวัสดุธรรมชาติอะไรบ้างที่สามารถนำมาสานได้ นักเรียนร่วมกันเสนอมีทั้ง กก ใบมะพร้าว ใบตาล ใบลาน ไม้ไผ่ ครูจึงให้นักเรียนเป็นผู้จัดเตรียมวัสดุมาจากกบ้าน ครูได้สานของเล่นจากใบมะพร้าวและใบตาล ถามนักเรียนว่าสิ่งที่ครูสานมาเหมือนอะไร นักเรียนก็ตอบตั๊กแตนบ้าง ลูกตะกร้อ งู หนอนเด้งดิ๋ง ฯลฯ แล้วแต่จินตนาการของแต่ละคน จากนั้นครูก็ให้นักเรียนออกแบบการสานจากวัสดุที่นักเรียนเตรียมมา สานเป็นอะไรก็ได้ตามความสนใจของตนเอง ส่วนใหญ่นักเรียนจะสานลูกตะกร้อ ตั๊กแตน และตัวหนอน นักเรียนให้ความสนใจกับกิจกรรมนี้มาก เพราะแต่ละคนเลือกสานของเล่นที่ตนเองสนใจ ต่างจดจ่ออยู่กับชิ้นงานของตน โดยมีครูเป็นผู้แนะนำถึงวิธีการสานในรูปแบบต่างๆ เมื่อทำเสร็จแล้วนักเรียนต่างภูมิใจในชิ้นงานของตนเอง การสานกล่องนมและการสานของเล่นจากใบมะพร้าวและใบตาล ทำให้นักเรียนเข้าใจถึงกรับวนการสานในเบื้องต้นว่าคือการนำมาสลับกัน ขัดการ หรือต่อกันให้เป็นเส้นสายหรือรูปร่างต่างๆ นักเรียนสามารถเชื่อมโยงสามารถทำให้เป็นสีสันต่างๆ นำไปประยุกต์เล่นในแบบต่างๆ แล้วครูก็เชื่อมโยงกิจกรรมและความรู้ที่เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์ โดยใช้คำถามกระตุ้นความคิดของนักเรียนว่าลวดลายจักสานหรือเครื่องจักสานในแบบต่างๆมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคนแต่ละท้องถิ่นอย่างไร ซึ่งหลากหลายคำตอบที่ได้ ทำให้รู้และเข้าใจถึงที่มา วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในแต่ละช่วงเวลา ครูให้นักเรียนสรุปความรู้ที่ได้ตลอดทั้งสัปดาห์ตามรูปแบบที่ตนเองสนใจ

    ตอบลบ