เป้าหมาย (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

Week3

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนมีความเข้าใจและสามารถอธิบายที่มาหรือภูมิหลังของลายว่ามีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัว รวมถึงวิธีการสร้างลวดลายบนผ้าในแบบต่างๆ อีกทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์เป็นสรรค์สร้างเป็นชิ้นงานได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
3
30 พ.ค.59
-
3 มิ.ย.59















โจทย์ ภูมิหลังของลาย
- ลายพื้นถิ่น
- ลวดลายบนผืนผ้า
Key Questions :
ลายแต่ละลายมีที่มา สัมพันธ์ และเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ รอบตัวเราอย่างไร?
                                    
เครื่องมือคิด :
  Brainstorms ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับลวกลายบนผืนผ้า
Round Robin 
- แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับลายผ้าตัวอย่าง
 Jigsaw วิเคราะห์ลวดลายบนผืนผ้าในแต่ละพื้นถิ่น
 Show and Share นำเสนอลายผ้าในแบบต่างๆ

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน

สื่อ/อุปกรณ์ :
ผ้าถุง (ลวดลายบนผืนผ้า)
- ภาพลวดลายต่างๆ
- คลิปวีดีโอ พันแสงรุ้ง ตอน: ลวดลายบนผืนผ้าดำ
- อุปกรณ์สำหรับทำผ้ามัดย้อม
( ผ้าด้ายดิบ สีย้อมผ้า ยางยืด เกลือ กะละมัง น้ำเปล่า)
วันจันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :  
ครูให้นักเรียนดูตัวอย่างผ้าที่ครูนำมา เป็นลายผ้าถุงที่ มีลวดลายแตกต่างกัน ในผ้าถุง 1 ผืน จะมีลายที่แบ่งเป็น 3 ส่วน คือส่วนบน ส่วนกลาง และส่วนล่าง ลายส่วนบนที่เป็นสีเดียวกัน ส่วนกลางที่มีลายเป็นแถวลักษณะคล้ายๆกัน และส่วนล่างหรือส่วนที่เป็นตีนผ้าจะเป็นลายที่ค่อนข้างละเอียดและอยู่ในแนวนอน ครูใช้คำคามกระตุ้นความคิด ลายที่นักเรียนเห็นน่าจะมาจากอะไร เห็นลายนี้แล้วนึกถึงอะไร” นักเรียนร่วมกันตอบคำถามและแสดงควมคิดเห็นร่วมกัน

เชื่อม:
- ครูจับฉลากแบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 3 คน ให้วิเคราะห์ภาพลวดลายบนผืนผ้าที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไป เป็นลายของแต่ละพื้นถิ่น โดยใช้คำถามกระตุ้นความคิด “ลายแต่ละลายมีที่มา สัมพันธ์ และเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ รอบตัวเราอย่างไร?”
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับลวดลายของผ้า จากกนั้นสรุปข้อมูลและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงใหญ่ โดยการเวียนอ่านผลงานของแต่ละกลุ่มและนำเสนอ ครูให้นักเรียนกลุ่มอื่นตั้งคำถามกลุ่มที่นำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
วันอังคาร ( 2 ชั่วโมง )
ชง
ครูทบทวนกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ในวันจันทร์ จากนั้นนำภาพลวดลายบนผ้าทั้งหมดมาวางเรียงกัน ให้นักเรียนเลือกลายที่ตนสนใจมากที่สุดพร้อมทั้งบอกเหตุผลว่าลายนั้นมีที่มาจากไหน มีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกับสิ่งที่อยู่รอบตัวของนักเรียนอย่างไร โดยให้นักเรียนออกมาเลือกลายและตอบคำถามทีละคน
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดกับคำตอบของนักเรียน เชื่อมโยงให้เห็นว่าลวดลายแต่ละพื้นถิ่นมีความแตกต่างกัน แต่ละท้องถิ่นล้วนมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และความเชื่อ ที่แตกต่างกัน
- ครูให้นักเรียนดูคลิป “พันแสงรุ้ง ตอน: ลวดลายบนผืนผ้าดำ"ระหว่างที่ดูคลิป ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด เพื่อทบทวนความเข้าใจ และสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้เป็นระยะ
- สรุปความเข้าใจของนักเรียนโดยการใช้คำถามกระตุ้นความคิด จากสิ่งที่ได้เรียนรู้จากคลิป โดยใช้คำถามที่หลากหลายและให้นักเรียนตอบคำถามทีละคน ผ่านเครื่องมือคิด Round  Rubin

วันพุธ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
ครูทบทวนกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ในวันอังคาร เชื่อมโยงให้เห็นถึงลวดลายแต่ละพื้นถิ่นที่ล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะตนหรือกลุ่มคนนั้นๆ
เชื่อม:
- ครูแจกอุปกรณ์การทำผ้ามัดย้อมให้นักเรียนได้ออกแบบและมัดลายผ้าด้วยตนเอง โดยใช้คำถามมกระตุ้นความคิด “ให้นักเรียนออกแบบลายผ้าที่สามารถไปใช้ได้จริง และนำไปใช้ทำอะไร?”
ใช้:
- ครูให้นักเรียนออกแบบลายผ้าตามความสนใจของตนเอง โดยให้ลวดลายนั้นแสดงถึงความเป็นตัวตน และมีความหมายต่อตนเอง
- นำผ้าที่มัดเรียบร้อยแล้วมาย้อม โดยวิธีการย้อมเย็น
วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ชง:
ครูทบทวนกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ตลอด 3 วันที่ผ่านมาพร้อมตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “จากการที่ทำผ้ามัดย้อม ลวดลายที่ได้ของแต่ละคนแสดงถึงอะไร เมื่อเห็นลายนี้แล้วนึกถึงอะไร มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับตนเองอย่างไร และสามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง”
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ได้เรียนรู้
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
ใช้ :
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในรูปแบบการ์ตูนช่อง
วันศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )
ใช้:
ทำการ์ตูนช่องต่อจากวันพฤหัสบดี
เชื่อม : 
- ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์พร้อมครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด 
      - “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
      - “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?” 
      - “นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ในรูปแบบบรรยาย
ภาระงาน
ออกแบบและวางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน
ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับลวดลายผ้าแต่ละพื้นถิ่น
นำเสนองานที่ได้ค้นคว้ามาให้น่าสนใจ
- วิเคราะห์ข้อมูล ระดมความคิดเห็น
- ออกแบบและสร้างลวดลายต่างๆ ผ้ามัดย้อม

ชิ้นงาน
- ผ้ามัดย้อม
- การ์ตูนช่อง
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
นักเรียนมีความเข้าใจและสามารถอธิบายที่มาหรือภูมิหลังของลายว่ามีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัว รวมถึงวิธีการสร้างลวดลายบนผ้าในแบบต่างๆ อีกทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์เป็นสรรค์สร้างเป็นชิ้นงานได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ใช้อุปกรณ์ในการค้นหาข้อมูลและสร้างชิ้นงานได้อย่างเหมาะสม
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวิเคราะห์ ออกแบบและสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์

ทักษะการจัดลำดับข้อมูล
มีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีที่หลากหลาย
- มีกระบวนการทำงานเป็นขั้นตอน
สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาขณะทำงานได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยการยอมรับฟังความคิดเห็นในการค้นหาและสร้างชิ้นงาน และทำงานกลุ่มได้
ทักษะการสื่อสาร
สื่อสารอธิบายสิ่งที่ตนเองค้นคว้าหาข้อมูล เพื่อนำเสนองานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะ ICT
-    สืบค้นข้อมูลได้อย่างหลากหลาย เช่น ห้องสมุด ถามผู้รู้ อินเทอร์เน็ต
-    จัดการข้อมูลที่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
เคารพตนเอง  และผู้อื่น

ภาพกิจกรรม





  











 ภาพชิ้นงาน








1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้ครูให้นักเรียนดูลวดลายที่อยู่ผ้าถุง ซึ่งมีลายที่แบ่งเป็น 3 ส่วน คือส่วนบน ส่วนกลาง และส่วนล่าง ลายส่วนบนที่เป็นสีเดียวกัน ส่วนกลางที่มีลายเป็นแถวลักษณะคล้ายๆกัน และส่วนล่างหรือส่วนที่เป็นตีนผ้าจะเป็นลายที่ค่อนข้างละเอียดและอยู่ในแนวนอน ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด “ลายที่นักเรียนเห็นน่าจะมาจากอะไร เห็นลายนี้แล้วนึกถึงอะไร” นักเรียนร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น คำตอบที่ได้มีหลากหลาย เช่น มาจากธรรมชาติบ้าง ต้นไม้ ภูเขาไฟ ลาวา ฯลฯ การแสดงความคิดเห็นล้วนแตกต่างไปตามจินตนาการและความรู้เดิมของนักเรียนแต่ละคน จากนั้นครูแบ่งกลุ่มนักเรียนให้วิเคราะห์ภาพลายผ้าของแต่ละพื้นถิ่น โดยใช้คำถามกระตุ้นความคิด “ลายแต่ละลายมีที่มา สัมพันธ์ และเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ รอบตัวเราอย่างไร?” นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับลวดลายของผ้าแล้วนำข้อมูลที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงใหญ่ โดยการเวียนอ่านผลงานของแต่ละกลุ่มและนำเสนอทีละกลุ่ม ครูให้นักเรียนกลุ่มอื่นตั้งคำถามถามกลุ่มที่นำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การตั้งคำถามเป้นการทบทวนความเข้าใจผู้ฟังและผู้นำเสนอได้เป็นอย่างดี วันต่อมาครูให้เลือกลายที่ตนสนใจมากที่สุดพร้อมทั้งบอกเหตุผลว่าลายนั้นมีที่มาจากไหน มีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกับสิ่งที่อยู่รอบตัวของนักเรียนอย่างไร เพื่อเป็นการทบทวนความเข้าใจ ทำให้เห็นจินตนาการของแต่ละคนที่กว้างขึ้น ซึ่งแต่ละคนจะเลือกลายที่แตกต่างกันและเห็นลายนั้นในแบบที่แตกต่างกัน แต่สำหรับบางคนก็เห็นลายนั้นเป็นสิ่งเดียวกัน นักเรียนสามารถเชื่อมโยงลวดลายที่เห็นว่ามาจากธรรมชาติที่อยู่รอบตัว เพราะเราหรือคนสมัยก่อนใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ จึงนำลายเหล่านั้นมาสร้างเป็นลายผ้า ครูได้เชื่อมความเข้าใจโดยการให้ดูคลิปวีดีโอ พันแสงรุ้ง ตอน ลวดลายบนผืนผ้าดำ แสดงให้เห็นถึงความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม และกุศโลบายสอนใจ ผ่านลวดลายบนผืนผ้าที่สมใส่ ในระหว่างที่ดูคลิปครูจะใช้คำถามกระตุ้นความคิดนักเรียนเป็นระยะ เพื่อทบทวนความเข้าใจพร้อมยกตัวอย่างและอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนได้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น หลังจากที่ดูคลิปจบแล้วครูใช้คำถามกระตุ้นความคิดอีกครั้งและให้นักเรียนตอบคำถามทีละคนจนครบทุกคน เชื่อมโยงให้เห็นว่าลวดลายแต่ละพื้นถิ่นที่ล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะตนหรือกลุ่มคนนั้นๆ และถามนักเรียนต่อว่า นักเรียนสามารถสร้างลวดลายที่แสดงถึงความเป็นตัวตนหรือลวดลายเฉพาะตนได้อย่างไร จากนั้นให้นักเรียนทำผ้ามัดย้อมและออกแบบลายผ้าของตนเองตามจินตนาการ แล้วนำไปย้อมโดยวิธีย้อมเย็นซึ่งจะละลายเกลือพอประมาณในน้ำเปล่า จากนั้นผสมสีย้อมผ้าคนให้ละลายเมื่อเข้ากันแล้วนำผ้าที่มัดไว้ไปจุ่มน้ำเปล่าให้เปียกทั่วผ้า เพื่อให้สีติดและเข้าถึงผ้าได้ดีขึ้นแล้วนำมามาแช่ไว้ในสีที่เตรียมไว้ประมาณ 10-20 นาที จากนั้นนำไปล้างในน้ำเกลืออีกรอบ แกะยางที่มัดผ้าออกและนำไปตากให้แห้ง เมื่อย้อมเสร็จเรียบร้อย ทุกคนต่างชื่นชมผลงานของตนเอง กิจกรรมนี้นักเรียนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะได้ลงมือปฏิบัติจริง นักเรียนต่างตื่นเต้นและอยากทำทุกขั้นตอนด้วยตนเอง และมีคำถามและข้อสงสัยว่ามัดแบบนี้แล้วลายที่ได้จะออกมาแบบใด สุดท้ายแล้วก็ค้นพบคำตอบได้ด้วยตนเองและลวดลายที่ได้ของนักเรียนแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันไป จากนั้นครูให้นักเรียนสังเกตลายของตนเองว่าคล้ายอะไร เห็นลายนี้แล้วนึกถึงอะไร และเกี่ยวข้องกับตัวเองอย่างไร บางคนบอกว่าเหมือนหนูและเหมือนตนเองตรงที่ตัวเล็กเหมือนหนู เหมือนใบไม้บ้าง ดอกไม้บ้าง ให้เหตุผลแตกต่างกันไป และครูให้คำถามทิ้งท้ายว่าผ้าผืนนี้จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร มีทั้งเอาไปทำผ้าเช็ดหน้า ทำกระเป๋าเสื้อ หรือเอามาเย็บต่อกันกับของเพื่อให้เป็นผืนใหญ่ขึ้นเพื่อทำปลอกหมอน ฯลฯ ครูทบทวนกิจกรรมที่ได้เรียนรู้และให้นักเรียน สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในรูปแบบการ์ตูนช่อง

    ตอบลบ