แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์
เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเกิดความใคร่รู้อยากเรียนรู้ “ลาย” สามารถพูดอธิบายตั้งคำถาม
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจตลอดจนสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้
อีกทั้งสามารถออกแบบและวางแผนสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและเหมาะสมกับตนเองได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
1
16-20
พ.ค.
59
|
โจทย์: สร้างแรงบรรดาลใจ/สร้างฉันทะ
Key Questions :
- นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง
เพราะเหตุใดจึงอยากเรียนรู้เรื่องนี้?
เครื่องมือคิด :
Brainstorms
- ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับลวดลายต่างๆ
Round Robin
แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวลายต่างๆ
Place mats
ระดมความคิดเห็น
และนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
Show & Share
นำเสนอผลงานตนเอง
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
- ครู
- นักเรียน
สื่อ/อุปกรณ์
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- สื่อจริง
- รูปภาพลวดลายต่างๆ
- อุปกรณ์ในการสร้างลวดลาย
( ไม้เสียบลูกชิ้น ไหมพรม ไหมญี่ปุ่น)
|
วันจันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
1. ครูนำตัวอย่างลวดลายแบบต่างๆ
ทั้งสื่อจริงและรูปภาพ อาทิ ลายไทย ลายบนฝาผนัง ลายบนเรือนร่าง ลวดลายบนผ้า
ลายแกะสลัก ลายเครื่องปั้นดินเผา ลายจักสาน รวมไปถึงการบรรยากาศภายในชั้นเรียน
2. ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด
- “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
- “นักเรียนคิดว่าสิ่งที่สังเกตเห็นมีอะไรที่เหมือนกันและมีอะไรที่แตกต่างกันอย่างไร?”
เชื่อม :
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็น
ชง :
ครูนำผ้าลายที่ใช้ในโรงเรียนมาให้นักเรียนสังเกต ใช้คำถามกระตุ้นความคิด “เมื่อนักเรียนเห็นสิ่งนี้แล้วนึกถึงอะไร
และมีความเกี่ยวข้องกับตัวเองอย่างไร?”
เชื่อม :
ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 4 คน
ให้นักเรียนระดมความคิดเห็นโดยผ่านเครื่องมือความคิด Place
mats และนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
ใช้ : ครูให้นักเรียนออกแบบและสร้างลวดลายตามจินตนาการบนโครงเสื้อในกระดาษ A4 ที่ครูแจกให้
วันอังคาร ( 2 ชั่วโมง )
ชง : ครูให้นักเรียนดูตัวอย่างการสานใยแมงมุมจากไหมพรม
และใช้คำถามกระตุ้นความคิด
- “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร?”
- “เมื่อเห็นสิ่งนี้แล้วทำให้นึกถึงอะไร?”
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
- ครูให้นักเรียนดูวัสดุที่ครูเตรียมไว้
คือ ไหมพรมหลายสีและไม้เสียบลูกชิ้น ให้นักเรียนสร้างลวดลายตามจินตนาการ
- นักเรียนนำเสนอผลงานของตนเอง
และครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด
- “นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไร?”
- “ปัญหาที่นักเรียนพบระหว่างทำกิจกรรมคืออะไร
/มีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร?”
วันพุธ( 1 ชั่วโมง )
ชง:
1. ครูทบทวนกิจกรรมที่ในวันอังคารว่า “ทำอะไร/มีปัญหาอะไร/มีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร?” นักเรียนแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
2. ครูให้นักเรียนดูวัสดุที่ครูเตรียมมาให้
(ไหมญี่ปุ่นหลากสี) และใช้คำถามกระตุ้นความคิด “สิ่งนี้สามารถนำมาทำให้เกิดลวดลายเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร?”
เชื่อม :
1. นักเรียนนำเส้นเชือกมาออกแบบและสร้างลวดลายตามจินตนาการ
พร้อมนำเสนอว่าทำอะไรและนำไปใช้อย่างไร
2. นักเรียนนำเสนอผลงานของตนเอง
บอกชื่อชิ้นงาน วิธีการใช้ และครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด
- “นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไร?”
- “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?”
3. นักเรียนแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดยผ่านเครื่องมือการคิด Show
& Share
วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ชง:
1. ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด
จากกิจกรรมที่ผ่านมานักเรียนเห็นอะไร ลวดลายที่เห็นเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
นักเรียนเคยเห็นลวดลายแบบอื่นที่ใดบ้าง
นักเรียนเขียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคำถามที่ครูให้เป็นการบ้านโดยผ่านเครื่องมือการคิด Round Rubin และจากกิจกรรมที่ผ่านมา ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิดว่านักเรียนอยากเรียนรู้อะไร โดยใช้เครื่องมือคิด Cart
& Shart เมื่อขมวดเรื่องต่างๆ เป็นเรื่องเดียวกันแล้ว
ครูให้นักเรียนไปคิดชื่อหน่วยการเรียนรู้ และใช้คำถามกระตุ้นความคิด“นักเรียนจะตั้งชื่อสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ว่าอย่างไร?”
เชื่อม :
ครูให้นักเรียนเขียนชื่อหน่วยการเรียนรู้
โดยผ่านเครื่องมือการคิด Think Pair Share โดยเริ่มจากการคิดคนเดียว จากนั้นจับคู่กับคนข้างๆ
และรวมกลุ่มใหญ่จนได้ชื่อหน่วยการเรียนรู้
ใช้:
นักเรียนร่วมกันตั้งชื่อหน่วยและได้ชื่อหน่วยการเรียนรู้ที่ผ่านกระบวนการคิดจากนักเรียนทุกคน
เชื่อม:
1.ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
2.นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์นี้
|
ภาระงาน
- ระดมความคิดเห็นร่วมกัน
โดยผ่านเครื่องคิด Place mats
-
ออกแบบและสร้างลวดลายเสื้อในกระดาษที่ครูแจกให้
- ออกแบบและสร้างลวดลายใยแมงมุม
- ออกแบบและสร้างลวดลายจากไหมญี่ปุ่น
- ระดมความคิดเห็นร่วมกัน
โดยผ่านเครื่องคิด Round Rubin
ชิ้นงาน
- Place mats
- ลวดลายการสร้างใยแมงมุม
- ลวดลายจากไหมญี่ปุ่น
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
- สามารถพูดอธิบายตั้งคำถาม
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจตลอดจนสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้
- สามารถออกแบบและวางแผนสิ่งที่ตนเองอย่างเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและเหมาะสม
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เห็นความสำคัญและความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงระหว่างสิ่งรอบตัวกับตัวเรา
- มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
- สามารถสร้างทางเลือกในการวางแผนปฏิทินและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ชิ้นงานหัวข้อหน่วยการเรียนรู้ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยการยอมรับฟังความคิดเห็นในการเสนอสิ่งที่อยากเรียนรู้ หัวข้อหน่วยการเรียนรู้ที่หลากหลายและแตกต่าง ของเพื่อนๆ
ทักษะการสื่อสาร
สื่อสารอธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง และผู้อื่น
|
ภาพกิจกรรม
ชิ้นงาน
xxxxxx
บันทึกหลังการสอน PBL หน่วยการเรียนรู้เรื่อง (Time) ลายร้อยเรื่องราว
ตอบลบครูได้สร้างแรงด้วยการพาดูลวดลายจากสื่อจริงในรูปแบบต่างๆ ที่ได้นำมาประดับตกแต่งเพื่อสร้างบรรยากาศภายในห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็น ลวดลายจากงานทอ งานสาน และงานวาดต่างๆจากทั่วภูมิภาคในประเทศไทย ครูให้นักเรียนระดมความคิดเห็นโดยผ่านเครื่องมือความคิด Place mats และนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน นักเรียนร่วมกันทำงานกลุ่มช่วยกันแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย สามารถตอบคำถามเชื่อมโยงมาสู่ตนเอง จินตนาการถึงสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว มีความมุ่งมั่นในการทำงานกระตือรือร้นและให้ความสนใจที่จะเรียนรู้เป็นอย่างดี จากนั้นสร้างแรงโดยการให้นักเรียนได้ออกแบบและสร้างลวดลายโดยการสานใยแมงมุมและการทำสร้อยข้อมือ กิจกรรมสร้างลวดลายจากไหมพรมนักเรียนให้ความสนใจกับการทำกิจกรรมมาก แต่ละคนมุ่งมั่นและตั้งใจทำชิ้นงานของตนเป็นอย่างมากสร้างลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนตามจินตนาการของตนเอง มีการต่อยอดโดยการขอนำกลับไปทำที่บ้านและสร้างลวดลายใหม่ๆ ที่แตกต่างจากเดิม นักเรียนสามารถคิดเชื่อมโยงถึงการนำไปใช้นำไปทำเป็นพวงกุญแจ เป็นที่ติดกระเป๋า หรือเพื่อนำไปมอบให้ผู้อื่น และกิจกรรมสานสร้างลวดลายสร้อยข้อมือจากไหมญี่ปุ่นซึ่งมีความยากมากกว่าการสานไหมพรม นักเรียนได้ออกแบบการสานเองในรูปแบบที่แตกต่างกัน มีความยากง่ายตามศักยภาพของแต่ละคน นักเรียนมีความกระตือรือร้นทำจนสำเร็จ มีความอดทน ความพยายาม เพราะเมื่อทำสำเร็จแล้วนักเรียนสามารถนำชิ้นงานหรือสร้อยข้อมือคล้องแขนตนเอง ทำให้นักเรียนมีความมุ่งมั่นมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังได้ฝึกฝนกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง นักเรียนได้ใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายในการสร้างชิ้นงานซึ่งเป็นภาพที่น่าประทับใจมากแสดงให้เห็นถึงความพยายามและการใช้ทักษะชีวิตเพื่อสรรสร้างผลงานของตนเอง เมื่อชิ้นงานสำเร็จนักเรียนต่างภูมิใจกับผลงานที่อยู่ในแขนของตน จากนั้นครูให้นักเรียนเขียนสิ่งที่อยากเรียนรู้และตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ นักเรียนมีความตั้งใจและต้องการเรียนรู้ในเรื่องเกี่ยวกับลวดลายเป็นอย่างมาก นักเรียนสามารถคิดชื่อเรื่องได้อย่างน่าสนใจและสุดท้ายจนได้ชื่อที่ทุกคนเห็นร่วมกันโดยผ่านเครื่องมือ Think Pair Share คือ “(Time) ลายร้อยเรื่องราว